ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ผนึกดีป้า เคลื่อน ‘สมาร์ทแคมปัส-สมาร์ทซิตี้’

ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ผนึกดีป้า เคลื่อน ‘สมาร์ทแคมปัส-สมาร์ทซิตี้’

ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) เปิดเผยว่า โครงการความร่วมมือระหว่าง มธบ.และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เพื่อเป้าหมายของการยกระดับการเรียนการสอน และการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City)

อีกทั้ง ยังร่วมพัฒนาหลักสูตร หรือการจัดอบรม เพื่อเพิ่มทักษะให้บุคลากรของหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ให้มีความรู้ความเข้าใจด้านเทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้ง แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และประสบการณ์ระหว่างกัน

ดร.ดาริกากล่าวอีกว่า แนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะประกอบด้วย 3 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ Efficiency การใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด Sustainability ความยั่งยืนทั้งในแง่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการประหยัดต้นทุน และ Livability คุณภาพชีวิตที่ดีของผู้อยู่อาศัย โดยคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มธบ.ได้ร่วมมือกับ depa พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน

พร้อมเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ มาบรรยายพิเศษให้คณาจารย์ และนักศึกษา เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และเกิดการพัฒนาองค์ความรู้ด้านดิจิทัล และ Smart City มากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น มธบ.กำลังเดินหน้าโครงการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการยกระดับพื้นที่ให้ก้าวสู่เมืองอัจฉริยะ โดยมีเทศบาลนครนนทบุรี เป็นต้นแบบที่จะเริ่มดำเนินการเป็นแห่งแรก

ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ผนึกดีป้า เคลื่อน ‘สมาร์ทแคมปัส-สมาร์ทซิตี้’

“โครงการแรกที่ทำร่วมกับเทศบาลนครนนทบุรี คือการศึกษาความต้องการ และความคาดหวังของประชาชน ต่อบทบาทของเทศบาลนครนนทบุรี ในการพัฒนาสู่เมืองอัจฉริยะด้านการดำรงชีวิต (Smart Living City) เพื่อสํารวจความต้องการฯ หา Pain Point ที่แท้จริงของคนในพื้นที่ นำไปสู่การวิเคราะห์ปัจจัย และค้นหาแนวทางพัฒนาจากเมืองในปัจจุบันสู่เมืองอัจฉริยะในอนาคต ความน่าสนใจของโครงการนี้ อยู่ที่คุณภาพชีวิตของผู้คนที่อยู่ในเมือง จะได้รับการยกระดับจากบริการด้านต่างๆ อาทิ การวางโครงสร้างพื้นฐานสำหรับผู้สูงอายุ งานบริการสาธารณสุข ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นต้น โดยนำระบบภูมิสารสนเทศผ่านระบบอินเตอร์เน็ต มาใช้สำหรับการดูแล และกำหนดสวัสดิการผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง เชื่อมโยงข้อมูลของโรงพยาบาล อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และผู้นําชุมชน รวมถึง จัดทําระบบร้องเรียน ร้องทุกข์ออนไลน์ ผ่านแอพพลิเคชั่น ‘นครนนท์’ และเว็บไซต์ที่ประชาชนสามารถใช้สมาร์ทโฟน แจ้งเหตุร้องเรียน ร้องทุกข์ต่างๆ โดยไม่ต้องเดินทาง” ดร.ดาริกา กล่าว

นายสัญญา เศรษฐพิทยากุล ผู้ช่วยรองอธิการบดี สำนักดิจิทัลการศึกษาและบริการ มธบ.กล่าวว่า มธบ.มีองค์ความรู้ และประสบการณ์ในการยกระดับการศึกษาด้วยเทคโนโลยีมาอย่างต่อเนื่อง

โดยได้รับเลือกให้เป็นมหาวิทยาลัยนำร่องโครงการ Smart Campus 5G ตามมติของคณะกรรมการขับเคลื่อน 5G แห่งชาติ และต่อยอดเป็นห้องเรียนสุดล้ำ Intelligent Hybrid Classroom เป็นห้องเรียนต้นแบบที่สนับสนุนการเรียนรู้แบบ Active Learning

รวมทั้ง นำเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้สนับสนุน Learning Engagement Analytics ควบคู่กันทั้งการเรียน On-Site และ Online เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งผู้เรียน และผู้สอน ให้มีประสิทธิภาพ โดยเตรียมเปิดใช้งานเดือนมกราคมปีหน้า

“นอกจากนี้ ยังออกแบบห้องเรียนต้นแบบให้เชื่อมโยงกับ Metaverse Campus ของมหาวิทยาลัยที่กำลังจะเกิดขึ้น ด้วยการให้นักศึกษาสะสมคะแนน D Point ที่ได้จากกิจกรรม Engagement ต่างๆ ในห้องเรียน ภายใต้โครงการ Smart Campus 5G ยังครอบคลุมถึงการให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมจากเทคโนโลยี 5G อาทิ พัฒนาระบบ IoT (Internet of Things) สำหรับการจัดการพลังงาน พัฒนา AI Robot สำหรับตรวจตราความปลอดภัย และสร้าง Virtual Space เพื่อต่อยอดการเรียนรู้อย่างไร้ขีดจำกัด ในเฟสถัดไปมีแผนจะพัฒนาต่อยอดให้เป็น Innovation Lab ที่กระตุ้น และเสริมแรงให้นักศึกษาได้ร่วมกันสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขปัญหา และสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน และสังคม โดยมีพื้นที่มหาวิทยาลัยเป็น Living Sandbox ก่อนที่จะนำไปขยายผลในระดับเมือง และระดับประเทศต่อไป” นายสัญญา กล่าว

ติดตามข่าวสารเพิ่มเตมได้ที่ ceflaarredamenti.com

แทงบอล

Releated